Logo of JTBF
文字サイズ: 

リレーエッセイ 第10回配信

2023年07月01日配信
JTBF 広報委員会

 

タイ大使館工業部およびJTBFの皆さまとの3年ぶりのタイ訪問



 在京タイ王国大使館工業参事官事務所(Office of Industrial Affairs: OIA)は、経済および産業発展において、様々な分野で日本とタイの連携協力を推進しております。そして、日タイ・ビジネスフォーラム(Japan-Thailand Business Forum: JTBF)の皆さまは、日本の事業者の皆さまにお役立ていただけるようなタイの産業の現状やタイ政府が推し進める重要な政策を知っていただくため、タイ現地視察のご調整などを始め、在京タイ王国大使館との連携があり、最も密接な友好関係を持つパートナーの1つでございます。

 2023年、新型コロナウイルスの影響で中止となっておりましたJTBFの皆さまとのタイ現地視察へ3年ぶりに、弊部が同行させていただくこととなりました。コロナ禍では、タイ政府は、BCG 経済モデルと呼ばれる3 つの主要な開発分野を組み合わせた、重要な国家開発政策を策定しました。「Bio economy (バイオ経済)」は、技術を活用し、バイオ資源や農産物の強みを生かし、製品の付加価値を高める経済活動、「Circular economy (循環経済)」は、資源の有効活用を通じた経済活動、「Green economy (グリーン経済)」は、環境へ配慮した、持続可能な開発につながる経済活動を意味しています。ついては、経済、社会、環境のバランスを保った持続可能な開発またはSustainable Development Goals (SDGs)を実現するための持続可能な長期開発目標となっております。そして、この度、弊部よりJTBFの皆さまに、タイ工業省でのご面談およびサムットプラーカーン県プラパデーンにございますIndustrial Transformation Center (ITC) のリサイクル技術に関する視察を含めまして、タイ工業省内においてBCG経済モデルを担当しております機関である甘蔗・砂糖委員会事務局および基盤工業・鉱業局、工場局からのご説明および意見交換を機会を調整させていただきました。

 今回、JTBFの皆さまと同行させていただき、JCC、BOI、TNI、在タイ日本大使館などの機関との会合に加え、タイと日本の事業者の方々とお会いする機会もいただきました。たとえ短い期間だとしてもタイ駐在をされた方々からのタイをいつも想う御気持ち、長期にわたる日タイ友好関係や助け合い、タイでの産業開発や人材育成に真摯に取り組む姿勢など、日本とタイの友好関係が印象に残りました。20年以上にわたり、日本とタイの関係を強化する上で重要な役割を果たしてまいりましたJTBFの皆さまに感謝し、皆さまの益々のご健勝とご活躍を願っております。 そして、弊部としましても皆さまのご活動に全面的に協力させていただければと存じます。

キッティパン・バンイーカン
公使参事官(工業)
在京タイ王国大使館工業参事官事務所

 

キッティパン・バンイーカン公使参事官のご寄稿はタイ語でいただき、秘書の犬井様が和訳して下さいました。右写真はナショナルデー(2022年12月5日)に、キッティパン様ご夫妻を囲んで撮影されたもの。ご夫妻の右側は犬井様。以下に原文を添えます。

 

 

 

 

*** Original Message ***

การเดินทางเยือนประเทศไทยของ OIA ร่วมกับ JTBF ครั้งแรกในรอบ 3 ปี
 สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (Office of Industrial Affairs: OIA) ทำหน้าที่ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและไทยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ซึ่ง JTBF (Japan Thai Business Forum) ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานพันธมิตรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ OIA มากที่สุด โดยที่ผ่านมาจะมีการจัดกิจกรรมร่วมกับสถานทูตไทยประจำกรุงโตเกียว รวมถึงการเดินทางไปประเทศไทยเพื่ออัพเดทสถานการณ์ด้านอุตสาหกรรมและนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลไทยให้กับสมาชิกของ JTBF ได้รับทราบ สำหรับใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้ประกอบการในประเทศญี่ปุ่นต่อไป

 ในปี 2023 JTBF ได้เชิญให้ OIA ร่วมเดินทางไปประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังจากที่ต้องงดกิจกรรมนี้ไปเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า โดยในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีการออกนโยบายการพัฒนาประเทศที่สำคัญ คือ โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ผสมผสานการพัฒนา 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ที่นำเทคโนโลยีมาพัฒนาจุดแข็งในด้านทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเน้นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านสังคม เศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายระยะยาวคือการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ในการนี้ OIA ได้พาสมาชิกของ JTBF ไปรับฟังข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านการผลักดันนโยบาย BCG ของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งได้ไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (ITC) ด้านเทคโนโลยีรีไซเคิล ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

 สำหรับการร่วมเดินทางไปกับคณะของ JTBF ในครั้งนี้ นอกจากจะได้พบกับหน่วยงานต่างๆ เช่น JCC BOI TNI และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว ยังมีโอกาสได้พบกับเพื่อนนักธุรกิจชาวไทย และนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย ทำให้เห็นถึงความความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและไทยที่น่าประทับใจในหลายเรื่อง เช่น มิตรภาพที่มีให้กันมายาวนาน การช่วยเหลือพึ่งพากัน ความจริงใจในการร่วมกันพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและบุคลากรของไทย รวมถึงความผูกพันของคนญี่ปุ่นที่เคยมาทำงานในประเทศไทยแม้จะเป็นช่วงเวลาไม่นานแต่ก็มีความรักเมืองไทยอย่างไม่เสื่อมคลาย ดังนั้นต้องขอขอบคุณ JTBF ที่มีส่วนสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและไทยมาเป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี และหวังว่า JTBF จะมีกิจกรรมดีๆ แบบนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง OIA มีความยินดีที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

กิตติพันธุ์ บางยี่ขัน
อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม
สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว