サイトイメージ
文字サイズ:   

日タイビジネスフォーラム (JTBF)

English

 

タイ国に駐在経験のある日本人ビジネスマン(現役&OB)が個人の立場で参加しています。これまでの日本・タイ国両国におけるビジネス経験を生かし、両国間友好関係の促進に寄与したいと考えています。


sketched by H. Murata
Phalan Chai pond, Roi Et province


リレーエッセイ 第21回配信

2024年05月01日配信
JTBF 広報委員会

タイミッション報告(その3)

JTBFの皆さまとの2024年タイミッション

 
 日タイ・ビジネスフォーラム(Japan-Thailand Business Forum: JTBF)の皆さまとのタイミッションは、在京タイ王国大使館工業参事官事務所(Office of  Industrial Affairs: OIA)の年次行事となってまいりました。日タイ産業協力および情報交換のネットワーク構築を始め、現在のタイ政府の政策について、日本の事業者の皆さまへの広報にお役立ていただくため、今年は、2024年2月12日から13日に同行をさせていただきました。
 
 バンコクでの2日間、在タイ日本大使館の梨田和也大使を含む、公的機関、民間機関、教育機関など多くのタイの機関へ訪問しました。在タイ日本大使館への訪問では、梨田大使はJTBFとOIAの訪問団へ日タイ協力について話し合う機会を下さいました。2023年12月にタイ首相が、2024年2月初旬に工業大臣が来日して以来、両国間の強固な関係が示され、ビジネス拡大は確実に進むと考えています。今回お会いした梨田大使は約5年間のタイでの公務を経て、2024年3月に大使としての任期を終えましたが、タイでの公務のご経験がある大鷹正人様が引き続き業務を担当してくださるそうです。したがって、今後ともタイと日本の協力に取り組んでいただけますことを期待しています。
 
 その他には、OIAはJTBFの皆さまをタイ国立食品研究所(NFI)幹部のもとへお連れしました。日本市場に非常に関わりが深く、重要であるタイの食産業についての講演を聴講しました。タイから日本への輸出は、食品輸出総額の11%となっており、鶏肉、エビ、マグロ、魚介類などの製品が挙げられます。現在、タイ政府は機能性食品、医療用食品、オーガニック食品、Novel Foodなどの未来の食品開発を促進する方針を掲げています。日タイ両国間において、生産技術の開発、パッケージ開発、ナノテクノロジーの利用、スマートファーミング、コールドチェーン物流の開発など、今後の協力方法や事業者同士のビジネスマッチング協議を進めました。これは、JTBFグループのタイミッションの目的の1つであると思います。今回の訪問では、NFI幹部らはJTBFの皆さまを同研究所のタイフード・ヘリテージ・センターおよび開所5年目を迎える三重県と連携した食品生産プロセス開発研究センターである三重・タイ・イノベーション・センターへお連れしました。
 
 今回のタイミッションでは 仕事に加えて、タイの産業および人材育成の発展に携わる日本のビジネス上の友人と会う機会もありました。JTBFの皆さまに、日本とタイの関係強化に20年間以上にわたり貢献をいただいておりますこと、感謝を申し上げます。OIAは引き続き全面的に協力する所存です。
 
 
キッティパン バンイーカン
公使参事官
在京タイ王国大使館工業部
 

ภารกิจเดินทางเยือนประเทศไทยร่วมกับ JTBF ปี 2024

กลายเป็นกิจกรรมประจำปีของสำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมกรุงโตเกียว (OIA) ไปแล้ว กับภารกิจการเดินทางไปประเทศไทยพร้อมกับคณะผู้บริหารและสมาชิกของ Japan-Thailand Business Forum (JTBF) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งรับฟังนโยบายปัจจุบันของรัฐบาลไทย สำหรับใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้ประกอบการญี่ปุ่นได้ทราบต่อไป โดยในปีนี้ OIA ได้เดินทางร่วมกับ JTBF ในช่วงวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2024 
 
ตลอดสองวันที่กรุงเทพ เราได้พบกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยมากมาย ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบัน การศึกษา รวมทั้งได้เข้าพบนายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ณ สถานทูตญี่ปุ่น กรุงเทพ ซึ่งท่านเปิดโอกาสให้คณะ JTBF และ OIA เข้าหารือถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับไทย โดยหลังจากการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีไทยเมื่อเดือนธันวาคม 2566 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่น ทำให้คาดว่าการขยายตัวทางธุรกิจระหว่างสองประเทศจะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้แม้ว่านายนะชิดะกำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตในเดือนมีนาคมนี้ หลังจากที่ทำงานในประเทศไทยมาเกือบ 5 ปี แต่ก็จะมีนายโอตากะ มาซาโตะ ซึ่งเคยประจำอยู่ที่ประเทศไทยมาทำหน้าที่ต่อ ดังนั้นจึงน่าจะสามารถดำเนินงานด้านความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง
 
นอกจากนี้ OIA ยังได้นำคณะ JTBF เข้าพบผู้บริหารสถาบันอาหาร (NFI) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับฟังการบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญและมีความเชื่อมโยงกับตลาดญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยไทยส่งสินค้าไปญี่ปุ่นมากถึง 11% ของยอดการส่งออกอาหารทั้งหมด มีสินค้าสำคัญ เช่น เนื้อไก่ กุ้ง ปลาทูน่า และอาหารทะเล เป็นต้น ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมพัฒนาอาหารแห่งอนาคต ได้แก่ Functional Food, Medical Food, Organic Food และ Novel Food ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือในอนาคต เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การใช้นาโนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร Smart Farming การพัฒนาระบบขนส่งแบบควบคุมความเย็น (Cold chain logistic) และการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยกับญี่ปุ่นซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการเดินทางมาเยือนไทยของคณะ JTBF ด้วย ในการนี้ผู้บริหารสถาบันอาหารได้พาคณะของ JTBF ไปเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย (Thai Food Heritage) และ Mie-Thailand Innovation Center ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารที่มีความร่วมมือกับจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น มาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว
 
การเดินทางไปไทยครั้งนี้ นอกจากเรื่องงานแล้วก็ยังมีโอกาสได้พบกับเพื่อนนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่มีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมและบุคลากรของไทย ซึ่ง OIA ต้องขอขอบคุณ JTBF ที่มีช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและไทยมาเป็นระยะเวลานานมากกว่า 20 ปี และ OIA ก็ยินดีที่จะร่วมมือทำงานอย่างเต็มที่ต่อไป
 
กิตติพันธุ์ บางยี่ขัน
อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม
สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ณ กรุงโตเกียว